โครงการรวบรวมพันธุ์พืชสวนและอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชตามพระราชดำริ

…………..โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบทอดงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ตั้งแต่ปี 2503 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรงดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ในปี 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ โดยได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯและจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา

…………..กรมส่งเสริมการเกษตร มอบหมายศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดระยอง ปฏิบัติงานร่วมดำเนินการในการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ มี 4 กิจกรรมย่อย ได้แก่
………….. 1) ดูแลแปลงปลูกรักษาพันธุกรรมพืชในพื้นที่โครงการ
………….. 2) สำรวจและบันทึกข้อมูลพันธุ์พืชในรูปแบบของฐานข้อมูล
………….. 3) อบรมสร้างจิตสำนึกแนวทางการอนุรักษ์ให้กับเกษตรกรและชุมชน
………….. 4) สนับสนุนโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

.

กิจกรรมดูแลปลูกรักษาพันธุกรรมพืชในพื้นที่โครงการ

………….. อนุรักษ์พันธุ์ไม้ผลในพื้นที่โครงการฯ ในพื้นที่ 50 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น 37 ส่วนพื้นที่ เก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ผล 31 วงศ์

…………..

  • Palmae เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ตาลโตนด เป็นต้น                                          
  • Euphorbiaceae เช่น มะไฟ เป็นต้น
  • Fabaceae เช่น สะตอ มะขามเปี้ยวฝักใหญ่ มะขามเทศ เป็นต้น                                     
  • Oxalidaceae เช่น ตะลิงปลิง มะเฟือง เป็นต้น
  • Salicaceae เช่น ตะขบป่า ตะขบฝรั่ง เป็นต้น
  • Rhamnaceae เช่น พุทราสามรส พุทราสายพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้
  • Malvaceae เช่น เกาลัดสายพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้น                                        
  • Myrtaceae เช่น ฝรั่งหวานพิรุณ ฝรั่งเพชรภูทอง ฝรั่งขี้นก เป็นต้น
  • Rubiaceae เช่น กาแฟโรบัสต้า กาแฟอะราบิก้า เป็นต้น
  • Cactaceae เช่น แก้วมังกรเนื้อสีเหลือง แก้วมังกรเนื้อสีแดง เป็นต้น
  • Dilleniaceae เช่น มะตาด เป็นต้น                                         
  • Sapindaceae เช่น เงาะพันธุ์โรงเรียน เงาะพันธุ์สีชมพู ชำมะเลียงขาว ชำมะเลียงดำ เป็นต้น
  • Ebenaceae เช่น อินจัน เป็นต้น
  • Rutaceae เช่น มะขวิด มะนาวแป้นพิจิตร มะนาวแป้นรำไพ เป็นต้น
  • Annonaceae เช่น น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง น้อยหน่าครั่ง น้อยโหน่ง เป็นต้น       
  • Punicaceae เช่น ทับทิมแดงอินเดีย ทับทิมแดงมารวย เป็นต้น
  • Malpighiaceae เช่น เชอร์รี่หวาน เชอร์รี่เปรี้ยว เป็นต้น                          
  • Elaeocarpaceae เช่น มะกอกน้ำ เป็นต้น
  • Lauraceae เช่น อาโวคาโดพันธุ์ปีเตอร์สัน อาโวคาโดพันธุ์ฮอลล์ เป็นต้น           
  • Guttiferae เช่น มังคุด พะวา มะพูด ชะมวง เป็นต้น
  • Bombacaceae เช่น ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ทุเรียนพันธุ์อีงอน ทุเรียนพันธุ์ชะนี เป็นต้น
  • Combretaceae เช่น สมอไทย เป็นต้น      
  • Meliaceae เช่น กระท้อนปุยฝ้าย กระท้อนนวลจันทร์ ลองกองตันหยงมัส เป็นต้น               
  • Apocynaceae เช่น พุดดง มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นต้น
  • Moraceae เช่น สาเก ขนุนเหลืองมาเลย์ ขนุนไพศาลทักษิณ จำปาดะ เป็นต้น                
  • Moringacea เช่น มะรุม เป็นต้น
  • Musaceae เช่น กล้วยหอม กล้วยน้ำหว้า กล้วยหักมุก กล้วยหิน กล้วยนาก เป็นต้น         
  • Sterculiaceae เช่น โกโก้อัปเปอร์อะเมซอน เป็นต้น
  • Anacardiaceae เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มะม่วงแรด มะปรางหวาน มะยงชิด เป็นต้น        
  • Sapotaceae เช่น ละมุดมาเลย์ ละมุดสีดา ละมุดมะกอก เป็นต้น
  • Verbenaceae  เช่น ไข่เน่า เป็นต้น

กิจกรรมสำรวจและบันทึกข้อมูลพันธุ์พืชในรูปแบบของฐานข้อมูล

………….. สำรวจข้อมูลพันธุ์ไม้และนำมาจัดทำในรูปแบบป้ายลักษณะทางพฤษศาสตร์เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้เยี่ยมชม

…………..

กิจกรรมอบรมสร้างจิตสำนึกแนวทางการอนุรักษ์ให้กับเกษตรกรและชุมชน

………….. จัดอบรมหลักสูตรการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่น

…………..

กิจกรรมสนับสนุนโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

………….. จัดทำแหล่งเรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน พร้อมให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรแก่นักเรียนและครูโรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบ

…………..